[article] ReSkill&UpSkill เทคนิคการยืดอายุอาหาร และการกำหนดวันอายุ

 
 
 
ReSkill&UpSkill เทคนิคการยืดอายุอาหาร และการกำหนดวันอายุ
 
          เพิ่งกลับมาจากไต้หวันเมื่อวันพุธ มาลุยอบรบวิทยาศาสตร์อีก 2 วันเต็ม เป็นการทบทวน และเพิ่มความรู้ Food Science
เรื่อง Shelf Life Extension and Dating เรียกว่า กลับบ้านแบบหนักหัวเลยทีเดียว


 
ขอบคุณ ผศ.ดร.รชา เทพษร ที่มาให้ความรูันะครับ
 
สิ่งที่น่าสนใจ
- การหืนไขมันมีจากปฏิกิริยา oxidation (กลัวแสง ความร้อน และอากาศ) และ hydrolysis (น้ำ และ lipase) ปัจจัยต่างกัน การระวังต่างกัน
- ขนมไส้เปียกให้ดูที่เปลือกเพราะเปลือกดูดน้ำ ขนมไส้แห้งให้ดูที่ไส้เพราะเปลือกดูน้ำจากไส้ เป็นตัวกำหนดคุณภาพ
- การเช็คความแห้งของขนม เช็คน้ำหนักก่อนหลังการเก็บ
- สำหรับอาหารที่อยู่นาน การตรวจเชื้อไม่ใช่อายุ เพราะยังไม่เสีย แต่อาหารไม่น่ากินแล้วก็ได้ เช่นเสียความกรอบ เปลี่ยนสี
- Fat Bloom การตกผลึกของไขมันโกโก้ เพราะเก็บที่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น แต่ไม่ใช่การเสีย แก้ด้วย Glucose
- Jelly Bear แต่ละประเทศคนละสูตร เพราะอุณหภูมิแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ถ้าเจอประเทศร้อนจะละลาย
- Best Before บนฉลาก แปลว่า ทานได้ดีสุดที่เวลาก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่เสีย ถ้า Expired date แปลว่าหลังจากนี้เสีย
- ปฏิกิริยาที่มีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ควรเอามาเป็นตัวกำหนด Shelf life เช่น การเปลี่ยนสีของอาหารจาก Millard Effect
- แป้งเก็บไม่ดี หรือโดว์จะเกิดสารเมือกจาก bacillus cereus ในขนมปังเป็น Polysaccharide จากการที่จุลินทรีย์กินแป้งจนหมดในบริเวณเลยกลับมากินอะมิโนในแป้ง
- การเสียของแหนม สังเกตที่กลิ่น amine
- ถ้า enzyme ไม่ให้เจอ substrate ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เช่นแอ๊ปเปิด เมื่อหั่นออกมาก็หายเป็นสีดำ อยู่เเฉยๆไม่เป็นไร แก้ด้วยการหยุด Enzyme ด้วยเกลือ หรือน้ำอุ่น
- เค้กชิฟฟ่อน หืนเร็วกว่า Sponge เพราะอากาศในชิฟฟ่อนเยอะกว่า
- ไก่ทอดหาดใหญ่ กรอบนานกว่าไก่ KFC เพราะ แป้งดูดน้ำเร็วกว่าโปรตีน (ไก่ทอดหาดใหญ่ แป้งน้อยกว่า)
- การเช็คคุณภาพ Conflake เช็คน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังทิ้งเวลาไว้ น้ำหนักเพิ่มแปลว่ากรอบน้อยลง (แป้งดูดน้ำ)
- ทุกปัญหา Shelf life เริ่มที่ Aw (Water Activity) จัดการได้ก็สบาย
- นมเสียเมื่อ pH สูง แหนมวัด pH
- สิ่งที่น่าปวดใจคือ Benzoic ถูกกว่า Sorbic และลูกชิ้นไม่ได้กำหนดปริมาณการใช้ Benzoic
- กลิ่นโลหะสามารถติดไปกับอาหารได้ เช่นสัปปะรดกระป๋อง
- การเช็คคุณภาพการแช่แข็ง ให้เช็คน้ำหนัก ก่อนหลังการแช่แข็ง
- การตรวจกกลุ่มเชื้อ ต้องเข้าใจกระบวนการว่าเชื้อกลุ่มไหนที่หลุดออกมา Mesophile, Thermopiles, Psychrophiles ผ่านความร้อนแบบไหนมา
- ซอสมะเขือเทศไม่ต้องตรวจเชื้อ เพราะมีน้ำส้มสายชูเยอะ
- ชีสจากกรดไม่ต้องระวัง l.monocytogenes เพราะไม่ทนกรด แต่ชีสจาก rannet ต้องระวังเพราะไม่มีกรด
- Invert Sugar คือ Amorphous ที่ไม่ตกผลึก
- Resistant Starch คือแป้งที่เกิด Retrogradation แก้ได้ด้วยการใส่ไขมัน หรือสารที่ช่วยชะลอการรวมตัว
- Sterilize ทำได้ 12D
- ยิ่งแห้ง ยิ่งหืน ต้องระวัง
- การแช่แข็งยังต้องระวังการเคลื่อนที่ของเกล็ดน้ำแข็ง
- ยาคู้ไม่เสียง่ายๆ แต่ที่เสียคือเกิด Curd
 

 
การหา Shelf Life
1. ต้องประเมินดัชนีความเสื่อมว่าจะเป็นอะไรกันแน่ ต้องง่ายในการสังเกต
ใช้ผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง และใช้จุลินทรีย์ในกรณีสินค้ามีอายุสั้น ระวังมุมมองจากผู้ผลิต และควรเลือกดัชนีที่วัดได้จริง
2. การออกแบบการสุ่ม แบบ Basic หรือ reverse
ต้องดูว่าเป็นแบบไหน มีความเร่งร้อนทำในรวดเดียวหรือไม่ เช่นถ้าเป็นการชิม Reverse ก็ทดสอบได้ดี เพราะได้สินค้าพร้อมกัน ส่วน Basic เหมาะกับทยอยทำ การตรวจมีขั้นตอนค่อนข้างเยอะ เน้นการเก็บตัวเลข
3. วิธีการการวัดค่า
วิธีสามารถจัดการได้ เหมาะกับกำลัง เช่นการตรวจความหนืดอาจะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรแพง ถ้าทำเอง อาจใช้เป็นกระป๋องเจาะรูปเพราะเป็นการวัดของเหลวผ่านหน้าตัดก็ได้ หรือการวัดความหืนวัดได้หลายค่า เราอาจจะเลือกที่เหมาะสมแพงหรือถูกก็ดูเอา หรือแค่การชั่งหน้ำหนัก ก่อนหลังการเก็บง่ายๆเป็นการเช็คการเสียน้ำ
4. การเข้าใจอันดับปฏิกิริยา (ต้องทดสอบก่อน เพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิด)
การคาดเดาอายุมมีตั้งแต่อันดับปฏิกิริยาแบบอันดับที่ 0,1,2 ซึ่งสินค้าแต่ละอย่างอ้างอิงกันได้บ้าง แต่ทางที่ดีควรคำนวนก็เลือกทำ
5. การทำนายมีสองแบบ เก็บตัวอย่างจริงจนหมดอายุ (ใช้Q10) หรือใช้การคำนวน (Arrhenius)
- การใช้สมการ Arhenius ครอบคลุม แต่การใช้ Q10 จะต้องระวังปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยน pH ระหว่างเก็บ ซึ่งจะเป็นการคำนวนเทียบเท่ากับปฏิกิริยาอันดับ 1
 




 
พูดคุยเรื่องทำอาหาร เบเกอรี่ ขนมอบ ขนมปัง เค้ก ทำงานครัว วิทยาศาสตร์อาหาร
ที่ FB/ManCanCookChannel 
หรือพูดคุยกันที่ Line : @ManCanCook
ติดตามวีดีโออื่นๆได้ที่ youtube/ @mancancook7825
Created date : 24-04-2025
Updated date : 24-04-2025
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles